วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์



การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ ต่างๆ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราว

กานับเวลาและการเปรียบเทียบศักราช

ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากล

การนับเวลาแบบไทย

ในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

1.พุทธศักราช(พ.ศ.)

เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา โดยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้งนี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็ฯที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455

2. มหาศักราช(ม.ศ.)

การ นับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยใน สมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621

3.จุลศักราช ( จ.ศ.)

จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181โดยไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตานาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5 ) จึงเลิกใช

4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ)

การนับเวลาแบบนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว(รัชกาลที่5)ทรงตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช2432โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา

การนับเวลาแบบสากล

1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )

เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือ ศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต(ตรงกับ พ.ศ.543)และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล

2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)

เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนา อิสลามโดยอาศัยปีที่
ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 622

อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้


ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000

ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600

สหัสวรรษ (millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000


หลักเกณฑ์การเรียบเทียบศักราชในระบบต่างๆ

การนับศักราชที่แตกต่าง กัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์ดังนี้


ม.ศ.+621=พ.ศ.
พ.ศ.-621=ม.ศ.
จ.ศ.+1181=พ.ศ.
พ.ศ.-1181=จ.ศ.
ร.ศ.+2325=พ.ศ.
พ.ศ.-2325=ร.ศ.
ค.ศ.+543=พ.ศ.
พ.ศ.-543=ค.ศ.
ฮ.ศ.+621=ค.ศ
ค.ศ.-621=ฮ.ศ.
ฮ.ศ.+1164=พ.ศ.
พ.ศ.-1164=ฮ.ศ.

การแบ่งช่วง เวลาทางประวัติศาสตร

การนับเวลาเป็นศักราชจะมีประโยชน์เพื่อทำให้ทราบ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ แต่ในบางครั้งเราอาจจะนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

มาระบุเป็นการแบ่งช่วงเวลาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ตามระบบสากล และตามแบบไทย

การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร

เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานที่มีการค้นพบ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ โครงกระดูก งานศิลปะต่างๆ โดยรวมจะเห็นว่าในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มักทำด้วยหิน และโลหะ จึงเรียกว่า ยุคหิน และยุคโลหะ

ตารางแสดงการแบ่งยุคสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในระบบสากล

ชื่อยุค ชื่อยุคแบ่งตาม เครื่องมือเครื่องใช้ ช่วงระยะเวลา โดยประมาณ ลักษณะการดำรงชีวิต
ยุคหิน ยุคหินเก่า 1,700,000-10,000 ปีก่อนปัจจุบัน มีการล่าสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำใช้เครื่องมือหินแบบหยาบ
ยุคหินกลาง 10,000-5,000 ปีก่อนปัจจุบัน มีการดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินให้มีความปราณีตยิ่งขึ้น
ยุคหินใหม่ 5,000-2,000ปีก่อนปัจจุบัน เริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งที่ถาวร รู้จักทำเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา
ยุคโลหะ ยุคสำริด(ทองแดงผสมดีบุก) 3,500-2,500ปีก่อนปัจจุบัน อาศัยอยู่เป็นชุมชน ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เช่น ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้
ยุคเหล็ก 2,500-1,500ปีก่อนปัจจุบัน มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่น เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็ก

2. สมัยประวัติศาสตร

เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม จึงทำให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติสาสตร์ให้มากขึ้น การบันทึกในระยะแรกจะปรากฎอยู่ในกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นหิน ใบลาน เป็นต้น สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้

(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศจะเริ่มไม่พร้อมกัน ในสมัยประวัติศาสตร์สากลเริ่มตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมกรีก-โรมันและสิ้นสุดในค.ศ.476 เมื่อกรุงโรมแตก

(2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังที่กรุงโรมแตกในค.ศ. 476 จนกระทั่งค.ศ. 1453 เมื่อพวกที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสเตนติโนเปิลของโรมันตะวันออกแตกจน กระทั่งสิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มหลังจากที่กรุงคอนสเตนติโนเปิลแตกจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยดังกล่าว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เข้าใจช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่าย เพราะไม่ได้มีการกล่าวถึงศักราช แต่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ มักจะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็นตัวกำหนดแทน


การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย จะมีความสอดคล้องและความแตกต่างจากแบบสากล กล่าวคือในส่วนที่สอดคล้อง คือ ในสมัยก่อนประวัติสาสตร์จะมีการแบ่งยุคหินและยุคโลหะ แต่ในความแตกต่าง เมื่อมาถึงสมัยประวัติศาสตร์จะจัดแบ่งตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ดังรูปแบบต่อไปนี้

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์

เป็น ช่วงที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ จะอาศัยหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเพื่อการวิเคราะห์ตีความ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศาสตร์ในประเทศไทยออก เป็นดังนี้

(1). ยุคหิน เป็นยุคสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอยู่อาศัยแน่นอน เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ อาศัยเครื่องมือหินกะเทาะเพื่อการล่าสัตว์ และป้องกันตัว ซึ่งในยุคหินนี้จะสามารถแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

- ยุคหินเก่า จะเป็นพวกแร่ร่อน อาศัยตามถ้ำ ใช้เครื่องมือหินกรวดกะเทาะด้านเดียวที่ไม่มีความประณีต เช่น ขวานหินกำปั้น หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านแม่ทะ และบ้านดอลมูล จ. ลำปาง รวมถึงที่บ้านเก่า ต. จระเข้เผือก อ. เมือง จ.กาญจนบุรี

- ยุคหินกลาง จะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเครื่องมือหินจะมีความประณีตยังอาศัยอยู่ใน ถ้ำ และนำเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นยอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต ซึ่งพบได้จากเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน

-ยุคหินใหม่ มนุษย์ในยุคนี้จะเริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งหลักแหล่งที่อยูอาศัย มีการสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า ขวานหิานขัด หรือขวานฟ้า รวมทั้งการสร้างภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และการนำกระดูกสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านโนนกทา ต.บ้านนาดี อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ถ้ำผาแต้ม อ.โขงเจียน จ. อุบลราชธานี


(2.) ยุคโลหะ เป็นยุคที่ มนุษย์รู้จักใช้แร่ธาตุมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย ได้แก่

- ยุคสำริด โดย มนุษย์ในยุคนี้มีพัฒนาการความคิดในการประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ โดยเอาสำริด คือ แร่ทองแดงผสมกับดีบุก มาหล่อหลอมเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงมีการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามเป็น เอกลักษณ์เด่นหลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

- ยุคโลหะ มนุษย์ในยุคนี้จะเป็นชุมชนเกษรที่มีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จะนำเอาแร่เหล็กมาหลอมสร้างเป็นอุปกรณ์ เนื่องจากจะมีความทนแข็งแรงมากกว่า รวมถึงรู้จักการสร้างพิธีกรรมโดยอาศัยภาชนะดินเผาต่างๆ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านดอลตาเพรช อ.พนมทวน จ.กาญจบุรี รวมถึงหมู่บ้านใหม่ชัยมงคล จ. นครสวรรค์


2. สมัยประวัติศาสตร์ไทย

การเข้าสู่ช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ไทย นักวิชาการได้กำหนดจากหลัก ฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1826 สำหรับการแบ่งยุคสมัยของไทย นิยมแบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หรือแบ่งตามลักษณะทางการเมืองการปกครองเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช สมัยประชาธิปไตยเป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ไทย สามารถจัดแบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้

1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย เป็น สมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการคิดตังอักษรขึ้นใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวต่างๆ การศึกษาทางประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน ชั้นต้นที่ได้จากาารค้นพบตามท้องที่ต่างๆในประเทสไทย เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะสำริด เหล็ก เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา โครงการะดูก ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ เป้นต้น โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ ตามพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้


2) สมัยประวัติศาสตร์ไทย เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้น ตัวอักษรขึ้นใช้แล้ว นักวิชาการจึงอาศัยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น จารึก จดหมายเหตุบันทึกการเดินทาง พงศาวดาร เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ปราสาทหิน วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เงินเหรียญ เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งงานศิลปะต่างๆ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ตีความ เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

แบบทดสอบหลัีงเรียน

2 ความคิดเห็น: