วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานใหม่ ชิ้นที่ 3 โครงงานทางประวัติศาสตร์ สมาชิกในกลุ่ม เลขที่ 1,33 , 35 ,40 , 46 , 47

Nutazz953.jpg picture by nut_nut_

ที่ตั้ง : กำแพงด้านทิศเหนืออยู่ริมตามแนวถนนจะนะจดกำแพงด้านตะวันตกตรงถนนนครใน และจดกำแพงด้านตะวันออกตรงถนนปละท่า ด้านทิศตะวันออกอยู่ริมตามแนวถนนรามวิถีจดกำแพงด้าน ทิศใต้ที่ถนนกำแพงเพชร (วัดหัวป้อม) ด้านทิศใต้ตามแนวถนนกำแพงเพชรจดกำแพงด้านตะวันตก ที่ถนนนครนอก และกำแพงด้านตะวันตกเลียบถนนนครใน แล้วเลาะแนวถนนนครในไปจดกำแพง ด้านทิศเหนือ




ประวัติความเป็นมา : กำแพงเมืองสงขลาเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2379 ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ทางกรุงเทพฯได้มีท้องตราลงมาให้ก่อกำแพงและป้อม โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง ก่อกำแพงไม่ทันแล้วเสร็จ หัวเมืองมลายูเป็นกบฏ (พ.ศ.2381) ยกทัพมาเผาเมืองจะนะแล้วเลยเข้าตีเมืองสงขลา พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) รักษาเมืองไว้จนทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ยกลงมาช่วยตีทัพกบฏมลายูแตกกลับไป แล้วช่วยก่อกำแพงเมืองสงขลาจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2385

  ¡ÓᾧàÁ×ͧʧ¢ÅÒ

ความสำคัญทางประวัติ ศาสตร์ : กำแพงเมืองสงขลาก่อด้วยหินสอปูน มีเชิงเทินใบเสมาเป็นรูปป้อม มีป้อม 8 ป้อม แต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4 กระบอก ประตูเมืองเป็นซุ้มใหญ่ 10 ประตู กับมีประตูเล็กอีก10ประตูโดยรอบ บัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา (เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น


1. ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นกำแพงก่อด้วยหิน มีเชิงเทินมีใบเสามาเป็นรูปป้อม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง (16,000 บาท) ได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2379 แต่ไม่เสร็จเรียบร้อยเนื่องจากในปีนั้นพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเล้ง ณ สงขลา) ต้องพาพระยาตานี พระยายะหริ่ง พระยาสายบุรี พระยาระแงะ พระยารามัน เข้าไปเฝ้าในงานถวายพระเพลิงศพ สมเด็จพระพันปีหลวง และในปี พ.ศ. 2381 ตนกูหมัดสาอัด หลานเจ้าพระยาไทรบุรียกกองทัพไปตีเมืองไทรบุรีได้ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระยาวิเชียรคีรีกลับออกมาปราบปราม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพัฒน์ เป็นแม่ทัพใหญ่ลงมาช่วยเมื่อปราบกบฏราบคาบแล้ว กองทัพหลวงได้ช่วยก่อกำแพงเมืองจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2385กำแพงเมืองสงขลาด้านทิศเหนือ อยู่ริมถนนจะนะ ติดกับถนนนครในไปถึงถนนจะนะ ติดกับถนนปละท่า กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกอยู่ริมถนนรามวิถีติดกับถนนปละท่าไปถึงถนนรามวิถี ติดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนกำแพงเพชรติดกับถนนนครนอก กำแพงเมืองด้านทิศใต้ตะวันตกอยู่ริมถนนนครนอกตัดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนนคร นอกติดกับคลองขวาง ไปตามแนวถนนนครในจนติดกับถนนจะนะ มีประตูเมือง 10 ประตู ประตูเป็นซุ้มใหญ่โดยรอบกว้าง 3 เมตร (6ศอก) สูง 6 เมตร (4 วา) ซุ้มประตูเป็นหลังคาจีน ทำนองเป็นหอรบ บานประตูเป็นบานสัก ประตูเหล่านี้มีชื่อต่ไปนี้คือ พุทธรักษา สุรามฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พิทักษ์ อัคคีวุธ ชัยยุทธ์ ชำนะ บูรพาภิบาล
กำแพงเมืองดังกล่าวน่าเสียดายที่ถูก รื้อจนหมดสภาพไป คงเหลือบางส่วนที่ถนนจะนะถนนนครในเท่านั้น ส่วนใหญ่รื้อสมัยพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ระหว่างรับราขการเป็นพระยาวิชิตวรสาสน์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2437 ? พ.ศ. 2448 เพื่อขยายเป็นถนนและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้น
ต่อมากำแพงเมือง สงขลาและป้อมเมืองสงขลาได้ถูกรื้ออีก เพื่อทำเป็นชุมสายโทรศัพท์สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2484 ในการรื้อครั้งนี้ได้พบศิลาจารึกทีมุมกำแพงเมืองทิศเหนือและทิศตะวันตกด้วย เป็นจารึกรูปยันต์เกี่ยวกับซากเมืองสงขลา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา

Nutazz955.jpg

1. ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นกำแพงก่อด้วยหิน มีเชิงเทินมีใบเสามาเป็นรูปป้อม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง (16,000 บาท) ได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2379 แต่ไม่เสร็จเรียบร้อยเนื่องจากในปีนั้นพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเล้ง ณ สงขลา) ต้องพาพระยาตานี พระยายะหริ่ง พระยาสายบุรี พระยาระแงะ พระยารามัน เข้าไปเฝ้าในงานถวายพระเพลิงศพ สมเด็จพระพันปีหลวง และในปี พ.ศ. 2381 ตนกูหมัดสาอัด หลานเจ้าพระยาไทรบุรียกกองทัพไปตีเมืองไทรบุรีได้ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระยาวิเชียรคีรีกลับออกมาปราบปราม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพัฒน์ เป็นแม่ทัพใหญ่ลงมาช่วยเมื่อปราบกบฏราบคาบแล้ว กองทัพหลวงได้ช่วยก่อกำแพงเมืองจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2385กำแพงเมืองสงขลาด้านทิศเหนือ อยู่ริมถนนจะนะ ติดกับถนนนครในไปถึงถนนจะนะ ติดกับถนนปละท่า กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกอยู่ริมถนนรามวิถีติดกับถนนปละท่าไปถึงถนนรามวิถี ติดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนกำแพงเพชรติดกับถนนนครนอก กำแพงเมืองด้านทิศใต้ตะวันตกอยู่ริมถนนนครนอกตัดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนนคร นอกติดกับคลองขวาง ไปตามแนวถนนนครในจนติดกับถนนจะนะ มีประตูเมือง 10 ประตู ประตูเป็นซุ้มใหญ่โดยรอบกว้าง 3 เมตร (6ศอก) สูง 6 เมตร (4 วา) ซุ้มประตูเป็นหลังคาจีน ทำนองเป็นหอรบ บานประตูเป็นบานสัก ประตูเหล่านี้มีชื่อต่ไปนี้คือ พุทธรักษา สุรามฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พิทักษ์ อัคคีวุธ ชัยยุทธ์ ชำนะ บูรพาภิบาล
กำแพงเมืองดังกล่าวน่าเสียดายที่ถูก รื้อจนหมดสภาพไป คงเหลือบางส่วนที่ถนนจะนะถนนนครในเท่านั้น ส่วนใหญ่รื้อสมัยพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ระหว่างรับราขการเป็นพระยาวิชิตวรสาสน์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2437 ? พ.ศ. 2448 เพื่อขยายเป็นถนนและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้น
ต่อมากำแพงเมือง สงขลาและป้อมเมืองสงขลาได้ถูกรื้ออีก เพื่อทำเป็นชุมสายโทรศัพท์สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2484 ในการรื้อครั้งนี้ได้พบศิลาจารึกทีมุมกำแพงเมืองทิศเหนือและทิศตะวันตกด้วย เป็นจารึกรูปยันต์เกี่ยวกับซากเมืองสงขลา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา

2. ตั้งอยู่ที่ถนนนครใน ในบริเวณหน่วยบริการประชาศูนย์รวมข่าวของสถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา กำแพงตอนนี้เป็นที่ตั้งส่วนหนึ่งของป้อมพิทักษ์เขื่อนขัณฑ์ และกำแพงเมืองสงขลาบ่อยาง เท่าที่เหลืออยู่อีกหนึ่งส่วน สร้างในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานระดับชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมัชณิมาวาส ตั้งอยู่ในบริเวณวัดมัชณิมาวาส อำเภอเมืองเป็นแหล่งสะสมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ และประกาศเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ประเภทศิลปะและโบราณสถานแห่งหนึ่ง มีอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุ 2 หลัง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้พระราชศิลสังวร (ช่วง อตกเวที) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสเป็นผู้จัดตั้งขึ้น ครั้งเป็นมหาช่วงอตคเวที และทำเป็นพิธีเปิดให้ประชาชนชมครั้งแรก ในวันวิสาขบูชาประจำปี 2483 ตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 ณ อาคารไม้ที่ต่อเนื่องกับศาลาฤาษี ต่อมาเมื่อพระศีลสังวรได้ดำเนินการปรับปรุงปฏิสังขรณ์ อาคารศาลการเปรียญของวัดมัชมาวาสที่เรียกกันว่า ?โบสถ์เก่า? จากเงินบูรณะวัดาของกรมการศาสนาและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้เสร็จเรียบ ร้อยแล้วเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความปลอดภัยแก่โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ พรารชศีลสังวรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดงไว้ ณ อาคารไม้เดิมมาจัดแสดง ณ ศาลาการเปรียญตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ที่ฝังศพตระกูล ณ สงขลา วัดสำคัญได้แก่วัดพะโคะ มีชื่อทางราชการว่า วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่บนเขาพะโคะหรือเขาพิพัทสิงห์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนาและเกี่ยวข้องกับตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตามพงศาวดารเมืองพัทลุง กล่าวว่าวัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2057 และเป็น วัดหลวง ดังความว่า ครั้งกาลล่วงมาราว จ.ศ. 876 ล่วงแล้ว ครั้นกรุงศรีอยุธยาโบราณ ปรากฏว่าพระยาธรรมรังคัล เป็นเจ้าเมืองพัทลุง ตั้งอยู่ที่จะทิ้งพระ พระยาธรรมรังคับได้นิมนต์พระมหาอโนมทัสสีไปเชิญพระมหาธาตุเจ้ามาแต่ลังกา ทวีป มาก่อเจดีย์สูง 1 เส้น บรรจุพระมหาธาตุแล้วสร้างวัดทำอุโบสถศาลาวิหาร และก่อกำแพงล้อมเป็นเขตวัด สูง 6 ศอก ณ เชิงเขาพิพัทสิงห์เรียกว่า วัดหลวง แล้วบอกถวายพระราชกุศลเข้าไปในกรุง โปรดเกล้าให้มีตราพรคชสีห์และตราโกษาธิบดีออกมาเบิกข้าส่วยและภูมิเรือกสวน ไร่นา ขาดออกจากส่วยหลวง เป็นข้าโปรดคนทานพระกัลปนาสำหรับวัดหลวงสืบไป จากเรื่องกัลปนาเมืองพัทลุงบ่งว่า เดิมส่วนในเมืองพัทลุงสองหัวพันเก้าหัวสิบ อนึ่งเดิมส่วย 23 ชั่ง 10 บาท ถ้าเอาตามพงศาวดารเมืองพัทลุงที่ยกมาแสดงว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์สูง 1 เส้น บรรจุพระมหาธาตุแล้วสร้างวัดทำอุโบสถศาลาวิหาร และก่อกำแพงล้อมเป็นเขตวัด สูง 6 ศอก ณ เชิงเขาพิพัทสิงห์ เรียกว่า วัดหลวง แล้วบอกถวายพระราชกุศลเข้าไปในกรุง โปรดเกล้าให้มีตราพระคชสีห์และตราดกษาธิบดีออกมาเบิกข้าส่วยและภูมิเรือกสวน ไร่นา ขาดออกจากส่วยหลวง เป็นโปรดคนทานพระกัลปนาสำหรับวัดหลวงสืบไปจากเรื่องกัลปนาเมืองพัทลุงบ่งว่า เดิมส่วนในเมืองพัทลุงสองหัวกันเก้าหัวสิบ อนึงเดิมส่วย 23 ชั่ง 10 บาท ถ้าเอาตามพงศาวดารเมืองพัทลุงที่ยกมาแสดงว่า เมื่อสร้างพระเจดียย์ ณ เชิงเขาพิพัทสิงห์แล้ว ใน พ.ศ. 2057 ตรงกับรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ทำให้ไม่ต้องส่งส่วย แต่ให้นำมาบำรุงศาสนาแทน และได้รับพระราชทานที่กัลปนาเป็นครั้งแรกจากหลักฐานแหล่งเดียวกันบ่งว่า ต่อมาสมัยผแดงศรีทิรม(ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นปีใด) ขอที่ ณ บนเขาพิเพชรสิง แก่พระ ณ ไสยมุยว่า จะตั้งพระไพหารและก่อรูปพระโคะ จึงพระณไสยมุยเจ้า ก็อนุโมทนาให้แก่ผแดงศรีทิรมนั้น จึงให้ก่อสร้างพระไพหารแต่นั้นมาจึงเรียกว่า เขาพระโคะ รูปพระโคะ เข้าใจกันว่าคือพระโคตรมะ อันหมายถึงพระพุทธรูปไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่จนทุกวันนี้ (แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ผแดงศรีทืรมนั้นชื่แสดงว่าเป็นพราหมณ์)ต่อมาสมเด็จพระราชมุนี เชื่อกันว่าคือสมเด็จพะโคะ หรือหลวงพ่อทวด (ซึ่งสอบตามหลักฐานแล้วน่าจะเกิดปี พ.ศ. 2131 จ.ศ. 950 ซึ่งเป็นปีชวดมากกว่าจะเป็นปี พ.ศ. 2180 จ.ศ. 999) ได้ก่อพระศรีรัตนมหาธาตุบนเขาพะโคะ ดังปรากฎในเรื่องยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรมวิลาสไปเอาวิวาทเป็นหัวเมืองว่า ?เมื่อขณะออกเมืองราชแสนออกมากินเมืองพัทลุงและเมื่อครั้งสมเด็จพระราชมุนี มีบุญแลเห็นเขาพุทธบาทบรรพต ณ พะโต๊ะ เป็นราชสถานแลเข้าไปพระนครศรีอยุธยาทำฎีกาถวายแต่สมเด็จพระบรมบพิตรพระ พุทธเจ้าอยู่หัว และมีพระราชโองการตรัสให้ก่อพระศรีรัตนมหาธาตุ ในบนเขาพระพุทธบาทบรรพต ณ เขาพะโต๊ะ สุงเส้นห้าวา ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระเจดีย์ที่สร้างใหม่นี้ สูงกว่าที่พระธรรมรังคัลให้สร้าง 5 วา (เดิมสูงเพียง 1 เส้น) และเมื่อตรวจสอบจากหลาน ๆ ด้าน การสร้างครั้งนี้จะตกอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2148 ? 2155 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ และเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแล้ว วัดพะโคะก็ได้เปลี่ยนเป็นวัดพระราชประดิษฐานด้วย ดังปรากฎในเรื่องกัลปนาสมัยพระครูเทพราชเมาฬี ศรีปรมาจารย์ (ซึ่งตกประมาณ พ.ศ. 2158 จ.ศ. 977 ปีเถาะ สัปตศก) ว่า ให้ทำพระเติมในพะโต๊ะ ซึ่งพระมหากษัตริย์ธิราชให้สร้างเป็นวัดพระราชประดิษฐาน ถวายพระราชกุศลแต่โบราณราชประเพณี

สมาชิกในกลุ่ม ม.5/10
1.นางสาว นิจจารีย์ เตชะวรรณโต เลขที่ 1
2.นาย เกียรติศักดิ์ ศรัวิลัย เลขที่ 33
3.นาย ณัฐนันท์ ไกรทอง เลขที่ 35
4.นางสาว ณัชชา เอียดเปรียว เลขที่ 40
5.นางสาว ปัทมาพร อนันตะ เลขที่ 46
6. นางสาว พนิดา ดูดวง เลขที่ 47

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น